อาลัย หมอกระต่าย ในวันเกิด เปิดประวัติจบหมอได้ 2 เดือน รอบรรจุฯ รพ.ตำรวจ

อาลัย หมอกระต่าย ในวันเกิด เปิดประวัติจบหมอได้ 2 เดือน รอบรรจุฯ รพ.ตำรวจ

เปิดประวัติ หมอกระต่าย ในวันคล้ายวันเกิด 24 มกราคม จักษุแพทย์อนาคตไกล ที่ต้องมาจบชีวิตลงเพราะ ตำรวจ คฝ.ขี่บิ๊กไบค์ชนระหว่างข้ามทางม้าลาย หมอกระต่าาย หรือ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องมาเกิดเหตุไม่คาดฝัน ขึ้นเมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา หลังถูก ส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดก ผบ.หมู่ กองร้อยที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ขี่รถจักรยานยนต์ชนระหว่างข้ามทางม้าลายจนเสียชีวิต โดยวันเกิดเหตุ คุณหมอเพิ่งผ่าตัดคนไข้เสร็จ 2 คน แล้วกำลังข้ามถนนเพื่อเดินทางกลับบ้าน

การจากไปของ หมอกระต่าย 

ได้สร้างความเสียใจทั้งจากครอบครัวและผู้คนในสังคมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสังคมต้องสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถและจำเป็นต่อการช่วยเหลือผู้คน โดยมีการเปิดเผยว่าคุณหมอเพิ่งเรียนจบจักษุแพทย์ เป็นหมอเฉพาะทางต่อยอดถึง 2 สาขา และเพิ่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ คือด้านม่านตาอักเสบ และจอประสาทตา ซึ่งมีแพทย์ไม่กี่คนในไทย เพียงหลัก 10 ต้น ๆ ที่เรียนจบแบบนี้

เปิดประวัติ หมอกระต่าย 

หมอกระต่าย หรือ พญ.วราลัคน์ เกิดวันที่ 24 มกราคม 2531 บิดาคือนายแพทย์อนุรุทธิ์ สุภวัตรจริยากุล เป็นจักษุแพทย์เช่นเดียวกัน เกษียณอายุราชการแล้ว หลังจากหมอกระต่ายเรียนจบชั้นประถม มาเรียนต่อชั้นมัธยมต้นและปลายที่โรงเรียนสาธิตปทุมวัน และเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รุ่นที่ 42 กลับไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลสระบุรี แต่ด้วยความรักในอาชีพแพทย์จึงไปเรียนต่อเฉพาะทางจักษุวิทยา วัดไร่ขิง ต่อยอดจักษุวิทยาภูมิคุ้มกันอักเสบ และศึกษาต่อเฉพาะทาง ต่อยอดจอตาและวุ้นตา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ล่าสุดจะเข้ารับราชการที่โรงพยาบาลตำรวจ ก่อนมาจบชีวิตด้วยวัย 33 ปี ซึ่ง“ในวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของ หมอกระต่าย”

สำหรับวันนี้ (24 ม.ค.65) กำหนดการบำเพ็ญกุศล พญ.วราลัค์ (หมอกระต่าย) จะมีการสวดอภิธรรมศพในเวลา 17.30 น. และ 18.00 น. เป็นแบบพิธีคริสต์

กลายเป็นเหตุการณ์สุดน่ารักที่เกิดขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากที่หญิงคนหนึ่งกดผิด ไปโดนเพจ ขายข้าว แต่ซื้อเองไม่ได้ เธอจึงบอกต่อ และทำให้ชาวเน็ตแห่ซื้อข้าวกันเพียบ ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งได้ออกมาโพสต์ข้อความและภาพ ระบุว่าเธอรู้สึกผิดที่เธอคลิกไปโดนเพจ ข้าวหอมสุรินทร์ปลูกเองสีเองปลอดสาร และทำให้ทางแม่ค้าเข้าใจผิดว่าเธอสนใจที่จะซื้อข้าว ซึ่งทางแม่ค้าได้บรรยายสรรพคุณถึงข้าวของเธอ

อย่างไรก็ดีเจ้าของเฟซบุ๊กต้องปฏิเสธไป เนื่องจากที่บ้านยังเหลือข้าวอีกเยอะ และสาเหตุที่เธอกดไปโดนนั้นเนื่องจากเวลาดังกล่าวเธอสัปหงก ทั้งนี้เจ้าของเฟซบุ๊กได้เชิญชวนให้ไปซื้อข้าวจากเพจดังกล่าว

หลังจากโพสต์นี้ได้รับการเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตจำนวนมากก็ได้เข้าไปอุดหนุนข้าวสารจากเพจดังกล่าว ซึ่งทางเพจข้าวสารก็ได้กลับมาขอบคุณเจ้าของเพจเฟซบุ๊กที่ได้แชร์เรื่องราวของเธอ และทำให้ชาวเน็ตรู้จักร้านขายข้าวสารของเธอ

นอกจากนี้ทางเพจยังได้ขอบคุณลูกค้าทุกคนที่ช่วยอุดหนุน ข้าวสารของเธอ โดยทางเพจระบุว่า “ขอขอบคุณพี่ๆทุกๆคนเลยนะคะที่ช่วยหนูแชร์ช่วยหนูขายข้าว ถ้าหนูขายดีหนูจะไปช่วยชาวนาคนอื่นที่ขายไม่ได้ให้เค้าขายได้ค่ะพี่ ขอขอบคุณพี่ๆ มากๆ เลยค่ะ”

นายกเยือนซาอุดิอาระเบีย ครั้งแรกในรอบ 30 ปี

นายกรัฐมนตรีเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกในรอบ 30 ปี พร้อมเข้าเฝ้าเจ้าชายมุฮัมมัด 25-26 ม.ค. นี้ วันนี้ 23 ม.ค.นี้ เพจเฟซบุ๊ก “ไทยคู่ฟ้า” โพสต์ประกาศจากนายกรัฐมนตรี ถึงการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 25 – 26 มกราคม 2565 โดยมีข้อความภายในประกาศระบุรายละเอียดว่า

“นายกรัฐมนตรีมีกำหนดเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2565

ตามคำเชิญของเจ้าชาย มุฮัมมัด บิน ซัลมาน อับดุล อะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดิอาระเบีย

การไปเยือนซาอุดิอาระเบียของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี ของการเยือนในระดับ “ผู้นำรัฐบาล”

นายกรัฐมนตรีของไทย ได้มีกำหนดเข้าเฝ้า เจ้าชาย มุฮัมมัด บิน ซัลมาน อับดุล อะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดิอาระเบีย เพื่อส่งเสริม และกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน”

การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และการถอดรหัสพันธุกรรม ในภาวะเช่นนี้เราต้องการเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และการทดลองมาตอบคำถามทั้งหมด การถอดรหัสพันธุกรรมจะต้องดำเนินการต่อไปและเพิ่มจำนวนขึ้น ให้ได้เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง สำหรับประเทศไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน เกือบ 2 ปีมีการถอดรหัสพันธุกรรมไปทั้งตัว ประมาณ 6,000 ตัว ถือว่าไม่มากถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยถึง 2 ล้านคน ขณะนี้การถอดรหัสพันธุกรรมหลัก จะอยู่ที่กรมวิทยาศาสตร์ที่ทำได้เป็นจำนวนมาก ในสถาบันโรงเรียนแพทย์เป็นส่วนเสริม